บันทึกการเรียนรู้วันจันทร์ที่
29 พฤษภาคม 2560
เริ่มกิจกรรมด้วยการทำ
‘’จิตศึกษา’’
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ / อุปกรณ์
|
ขั้นเตรียม :
-รู้ตัว มีสติ
มีสมาธิ
จิตจดจ่อ
|
กิจกรรม : ใบไม้เล่าเรื่อง
ขั้นเตรียม (5นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมและไหว้ทักทายกันด้วยความนอบน้อม
- Brain Gym (จีบ-แอล, นับเลข 10 ครั้ง)
-
ครูให้นักเรียนปิดเปลือกตาลงช้าๆอย่างมีสติ
หายใจเข้ายาวๆและหายใจออกช้าๆ 2-3 ครั้ง
เพื่อรับรู้สัมผัสที่ปลายจมูกข้างที่ชัดเจน แล้วรับรู้สัมผัสของลมหายใจอย่างต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลา
2 นาที
-
ครูให้นักเรียนลืมตาขึ้นด้วยการขยับเปลือกตา 2-3 ครั้งเพื่อปรับแสงและพร้อมทำกิจกรรม
|
-ใบไม้
-ปากกา
|
ขั้นกิจกรรม
-มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ฟังและสิ่งที่ทำอยู่
-เห็นความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงระหว่างตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัว
-การเห็นคุณค่าในตนเอง ผู้อื่นและสิ่งต่างๆรอบตัว
-การยอมรับและเคารพในความแตกต่าง
|
ขั้นกิจกรรม
(15นาที)
-ครูหยิบใบไม้ขึ้นมาแล้วถามนักเรียนว่าเห็นอะไรจากใบไม้ใบนี้?
-ครูหยิบใบไม้กับปากกาแล้วถามนักเรียนว่า 2 สิ่งนี้สามารถเอาไปทำอะไรได้บ้าง
-ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ให้นักเรียน นักเรียนหยิบคนละหนึ่งแผ่น
ไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
-ครูให้นักเรียนสร้างสรรค์ชิ้นงานตามจินตนาการ
-ครูให้นักเรียนทุกคนนำเสนอผลงานพร้อมเหตุผล
-นักเรียนส่งอุปกรณ์กลับมาที่ครู นักเรียนรับไหว้ซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
|
|
ขั้นจบ
-ฝึกการมีสติรู้ตัว
|
ขั้นจบ (5นาที)
-ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-ครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
|
ภาพกิจกรรม
“จิตศึกษา”
วิชาภาษาอังกฤษ (ออกแบบและฝึกสนทนาเกี่ยวกับโจทย์ที่กำหนดให้)
-ครูให้นักเรียนแสดงละคร จากหัวข้อที่ให้ไปทำ Storyboard จากสัปดาห์ที่แล้ว (Greeting,My family,Super market, Classroom,Time)
-ครูให้นักเรียนทุกคนร่วมกันพุดคุย ซ้อมการแสดง แบ่งหน้าที่ตัวละคร หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน
-ครูให้นักเรียนดูวิดีโอการแสดง แล้วสะท้อนตัวเองและการทำงานกลุ่มว่าการแสดงมีปัญหาและเกิดข้อผิดพลาดเพราะอะไร?
วิชาภาษาไทย
-ครูให้นักเรียนจับคู่สรุปหัวข้อคำสมาส สนธิที่ช่วยกันค้นคว้าจากสัปดาห์ที่แล้ว สรุปเป็นรูปแบบไหนก็ได้ เช่น การ์ตูนช่อง, mind mapping
ช่วงบ่าย
-ครูให้นักเรียนไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดเสร็จ
-ครูให้นักเรียนดูการแสดงละครโน ละครคาโบกิของประเทศญี่ปุ่น และถามนักเรียนว่าได้เรียนรู้อะไรจากการดูละคร
-ครูให้นักเรียนจับคู่แล้วสรุปจากการดูละคร
-สิ่งที่ได้เรียนรู้
-การแสดงที่ได้ดูมีความสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง
-ครูให้นักเรียนจับคู่สรุปหัวข้อคำสมาส สนธิที่ช่วยกันค้นคว้าจากสัปดาห์ที่แล้ว สรุปเป็นรูปแบบไหนก็ได้ เช่น การ์ตูนช่อง, mind mapping
ช่วงบ่าย
-ครูให้นักเรียนไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดเสร็จ
-ครูให้นักเรียนดูการแสดงละครโน ละครคาโบกิของประเทศญี่ปุ่น และถามนักเรียนว่าได้เรียนรู้อะไรจากการดูละคร
-ครูให้นักเรียนจับคู่แล้วสรุปจากการดูละคร
-สิ่งที่ได้เรียนรู้
-การแสดงที่ได้ดูมีความสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง
บันทึกการเรียนรู้วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2560
เริ่มกิจกรรมด้วยการทำ ‘’จิตศึกษา’’
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ / อุปกรณ์
|
ขั้นเตรียม :
-รู้ตัว มีสติ
มีสมาธิ
จิตจดจ่อ
|
กิจกรรม : บทเพลงสื่อสาร
ขั้นเตรียม (5นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมและไหว้ทักทายกันด้วยความนอบน้อม
- Brain Gym (จีบ-แอล, นับเลข 10 ครั้ง)
-
ครูให้นักเรียนปิดเปลือกตาลงช้าๆอย่างมีสติ
หายใจเข้ายาวๆและหายใจออกช้าๆ 2-3 ครั้ง
เพื่อรับรู้สัมผัสที่ปลายจมูกข้างที่ชัดเจน แล้วรับรู้สัมผัสของลมหายใจอย่างต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลา
2 นาที
-
ครูให้นักเรียนลืมตาขึ้นด้วยการขยับเปลือกตา 2-3 ครั้งเพื่อปรับแสงและพร้อมทำกิจกรรม
|
-ขลุ่ย
-กระดาษ
|
ขั้นกิจกรรม
-มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ฟังและสิ่งที่ทำอยู่
-เห็นความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงระหว่างตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัว
-การเห็นคุณค่าในตนเอง ผู้อื่นและสิ่งต่างๆรอบตัว
-การยอมรับและเคารพในความแตกต่าง
|
ขั้นกิจกรรม
(15นาที)
-ครูเตรียมกระดาษมาให้นักเรียน
-ครูส่งกระดาษให้นักเรียนหยิบคนละหนึ่ง 1 แผ่นและไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
-ครูหยิบขลุ่ยขึ้นมาถามนักเรียนว่าเห็นอะไรจากสิ่งนี้?
-ครูเป่าขลุ่ยบรรเลงเพลง 1 บทเพลง
-ครูถามนักเรียนรู้สึกอย่างไรกับบทเพลงที่ได้ฟัง
-ครูให้นักเรียนเขียนความรู้สึกลงในกระดาษ
-ครูให้นักเรียนทุกคนนำเสนอผลงาน
-นักเรียนส่งอุปกรณ์กลับมาที่ครู นักเรียนรับไหว้ซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
|
|
ขั้นจบ
-ฝึกการมีสติรู้ตัว
|
ขั้นจบ (5นาที)
-ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-ครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
|
ภาพกิจกรรม
"จิตศึกษา"
วิชาดนตรี (ครูต่อ)
-ครูให้นักเรียนดูวิดีโอเกี่ยวการแสดงวงโปงลาง แล้วถามนักเรียนว่ามีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง
-ครูต่อมาอธิบายเกี่ยวกับเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นจากวิดีโอที่ดู
-ครูสอนและให้นักเรียนรู้จักลายโปงลาง (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด) แล้วให้ท่องตามครูทีละวรรค ตาม ระดับเสียง
-ครูสอนเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะของเสียงดนตรีแต่ละชนิด
ครูสอนวิธีการใช้เครื่องดนตรี
กิจกรรมผู้ปกครองอาสา
-ผู้ปกครองอาสา แม่พี่บีม แม่พี่ชมพู่และแม่พี่น้ำฝน มาพาทำเปเปอร์มาเช่ หน้ากากจากหนังสือพิมพ์โดยใช้ลูกโป่งเป็นฐาน
-เป็นกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับนักเรียน
จากนั้นครูให้นักเรียนดูภาพหน้ากากจากหลายประเทศ และให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ทำหน้ากากหลังจากนั้นครูให้นักเรียนดูวิดีโอการเรียนวิชาดนตรีวันนี้และให้ดูพัฒนาการของแต่ละคนในการเลือกเล่นเครื่องดนตรีแต่ละชนิดที่ตนเองสนใจ
บันทึกการเรียนรู้วันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2560
เริ่มกิจกรรมด้วยการทดลองทำ ‘’จิตศึกษา’’ ด้วยตนเองครั้งแรกกับพี่ๆชั้น ป.6
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ / อุปกรณ์
|
ขั้นเตรียม :
-รู้ตัว มีสติ
มีสมาธิ
จิตจดจ่อ
|
กิจกรรม : กระดาษเล่าเรื่อง
ขั้นเตรียม (5นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมและไหว้ทักทายกันด้วยความนอบน้อม
- Brain Gym (กรรไกรไข่ผ้าไหม, นับ 1-10)
-
ครูให้นักเรียนปิดเปลือกตาลงช้าๆอย่างมีสติ
หายใจเข้ายาวๆและหายใจออกช้าๆ 2-3 ครั้ง
เพื่อรับรู้สัมผัสที่ปลายจมูกข้างที่ชัดเจน
แล้วรับรู้สัมผัสของลมหายใจอย่างต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลา 2 นาที
-
ครูให้นักเรียนลืมตาขึ้นด้วยการขยับเปลือกตา 2-3 ครั้งเพื่อปรับแสงและพร้อมทำกิจกรรม
|
-กระดาษรีไซเคิล
|
ขั้นกิจกรรม
-มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ฟังและสิ่งที่ทำอยู่
-เห็นความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงระหว่างตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัว
-การเห็นคุณค่าในตนเอง ผู้อื่นและสิ่งต่างๆรอบตัว
-การยอมรับและเคารพในความแตกต่าง
|
ขั้นกิจกรรม
(15นาที)
-ครูเตรียมกระดาษรีไซเคิลที่เลิกใช้แล้วมาให้นักเรียน
-ครูส่งตะกร้ากระดาษให้นักเรียน นักเรียนหยิบคนละหนึ่งแผ่น ไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อมชงชง
= ครูให้นักเรียนฉีกกระดาษเป็นรูปอะไรก็ได้แล้วตั้งคำถามว่า
ทำไมถึงฉีกเป็นรูปนั้นเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?
เชื่อม
= ครูให้นักเรียนเล่าผลงานของตนเองพร้อมเหตุผลที่ชอบ
แล้วให้นักเรียนเล่าเรื่องต่อกันเป็นนิทาน 1 เรื่อง
นักเรียนแต่ละคนร่วมให้ความสนใจ
-ครูให้พี่ๆช่วยตั้งชื่อนิทานเรื่องนี้
-นักเรียนส่งอุปกรณ์กลับมาที่ครู
นักเรียนรับไหว้ซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
|
|
ขั้นจบ
-ฝึกการมีสติรู้ตัว
|
ขั้นจบ (5นาที)
-ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-ครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
|
ภาพกิจกรรม "จิตศึกษา"
วิชาดนตรี
-ครูให้พี่ๆไปเรียนดนตีต่อยอดจากเมื่อวาน โดยมีครูต่อกับครูป้ายจากโรงเรียนหนองอารีฯ จังหวัดศรีษะเกษ มาเป็นผู้สอนและให้ความรู้ในการเล่นเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นในการสร้างวงโปงลางของพี่ๆชั้น ป.6 พี่ๆตั้งใจและให้ความสนใจในสิ่งที่คุณครูสอนมาก พี่ๆตั้งใจและสามารถเล่นตามโน๊ตที่ครูสอนได้
ช่วงบ่าย
Body scan แบบนอน เป็นการเล่าเรื่อง ลูกชาย จากหนังสือ จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ จากครูป้อม
-ครูให้นักเรียนตกแต่งหน้าปกสมุดค้นคว้าอิสระของตนเองให้สัมพันธ์กับสิ่งที่ตนเองค้นคว้า แล้วให้นักเรียนนำหน้ากากขึ้นมาทำได้หลังจากตกแต่งหน้าปกเสร็จแล้ว
วิชาชุมนุม
-ครูให้พี่ๆแยกย้ายกันตามชุมนุมต่างๆ แล้วให้ไปพาน้องๆประถมเข้าชุมนุมที่ได้รับมอบหมายแล้วพาน้องๆทำกิจกรรม
ชุมนุมวิทยาศาสตร์
บันทึกการเรียนรู้วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2560
เริ่มกิจกรรมด้วยการทำ ‘’จิตศึกษา’’
เป้าหมาย
|
กิจกรรม
|
สื่อ / อุปกรณ์
|
ขั้นเตรียม :
-ฝึกการมีสติ รู้ตัว
|
กิจกรรม : โยคะ
ขั้นเตรียม
(5นาที)
- ครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลม
- ครูและนักเรียนไหว้ทักทากันอย่างนอบน้อม
- ครูพานักเรียนกลับมารับรู้ที่ลมหายใจของตนเอง 2-3 ลมหายใจ
|
- บรรเลงเพลงพัฒนาคลื่นสมอง
|
ขั้นกิจกรรม
-มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ฟังและสิ่งที่ทำอยู่
-ฝึกการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ
-ฝึกการหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธี
|
ขั้นกิจกรรม
(15นาที)
-ครูและนักเรียนเตรียมความพร้อม ด้วยท่ายืนตัวตรงกำหนดลมหายใจ เข้า ออก
สัก 4-5 ลมหายใจ
-ครูเล่าเรื่องเชื่อมโยงเข้าสู่ท่าโยคะต่างๆ
1.ยืน (แต่ละท่าให้ทำ
2 รอบ)
-ท่าไหว้พระอาทิตย์
-ท่าเก้าอี้ -ท่าต้นไม้
2.นั่ง (แต่ละท่าให้ทำ 2 รอบ)
-ท่าผีเสื้อ
-ท่าหงส์
3.นอน (แต่ละท่าให้ทำ 2 รอบ)
-ท่าจระเข้
-ท่าคันธนู
-ท่างูใหญ่
-ท่าปลาดาว เป็นท่าสุดท้ายในการให้นักเรียนได้ผ่อนคลายร่างกายของตนเอง 5
นาที
-คุณครูให้นักเรียนลุกขึ้นมานั่งเป็นวงกลม
-ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการนวดกดจุด
|
|
ขั้นจบ
-การเคารพคุณค่าตนเองและผู้อื่น
|
ขั้นจบ (5นาที)
-ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ในความตั้งใจของทุกคน
-ครูและนักเรียนแสดงความเคารพ ขอบคุณซึ่งกันและกันอย่างนอบน้อม
|
วิชาคณิตศาสตร์ (ครูป้อม)
-ครูให้พี่ๆทำโมเดลธุรกิจจากสิ่งของที่ครูให้เตรียมมา และให้แต่ละกลุ่มทำโมเดลตามธุรกิจที่แต่ละกลุ่มได้ร่วมกันวางแผนไว้
วิชาภาษาไทย The Lemming Dilemma
ครูให้นักเรียนอ่านบทที่ 4 ความกระจ่างของเอ็มมี่ และบททที่ 5 เทศกาลกระโดครั้งยิ่งใหญ่ของหนูเลมมิงจ์แล้วให้นักเรียนสรุปความเข้าใจในรูปแบบภาพวาด
ต่อด้วยวิชาบูรณาการ
- ครูให้นักเรียนถอดรหัสภาพหน้ากาก ช่วยกันวิเคราะห์ความเหมือนและความต่างของหน้ากากแต่ละประเภท จากนั้นให้นักเรียนออกแบบหน้ากากที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวเราเอง และให้นักเรียนเขียนว่าคิดอย่างไรกับคำว่า หน้ากากสังคม
วิชาภาษาไทย The Lemming Dilemma
ครูให้นักเรียนอ่านบทที่ 4 ความกระจ่างของเอ็มมี่ และบททที่ 5 เทศกาลกระโดครั้งยิ่งใหญ่ของหนูเลมมิงจ์แล้วให้นักเรียนสรุปความเข้าใจในรูปแบบภาพวาด
ต่อด้วยวิชาบูรณาการ
- ครูให้นักเรียนถอดรหัสภาพหน้ากาก ช่วยกันวิเคราะห์ความเหมือนและความต่างของหน้ากากแต่ละประเภท จากนั้นให้นักเรียนออกแบบหน้ากากที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวเราเอง และให้นักเรียนเขียนว่าคิดอย่างไรกับคำว่า หน้ากากสังคม
บันทึกการเรียนรู้วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2560
เริ่มกิจกรรมด้วยการทำ ‘’จิตศึกษา’’
จิตศึกษาเรื่องเล่าจากแม่พี่สุเอก เรื่องย่อมีอยู่ว่ามีกระต่าย 2 ตัวได้ยินเสียงร้องใต้หุบเขา กระต่ายน้อยจึงวิ่งไปดูเห็นเสือแม่ลูกอ่อนกำลังหิวโหยและมันกำลังจะกินลุกของตวเอง ดังนั้นกระต่ายตัวที่ 1 จึงตัดสินใจกระโดดลงไปเพื่อให้เป็นอาหารของแม่เสือ ส่วนกระต่ายตัวที่ 2 นอนกลิ้งตัวไปมากับน้ำค้างบนยอดหญ้า จนตัวเองสะอาด แล้วไปกลิ้งบนดอกไม่อีกที จากนั้นก็ตัดสินใจกระโดดกระโดดลงไปให้แม่เสือกินเช่นกัน
คุณแม่ตั้งคำถาม : พี่ๆรู้สึกอย่างไรและได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องที่ฟัง
พี่ๆพูดแสดงความคิดเห็น : กระต่ายทั้งสองตัวมีความเสียสละเหมือนกัน แต่ตัวที่สองคิดถึงสิ่งที่จะให้มากกว่าคืออยากทำตัวเองให้สะอาดก่อน
คุณแม่ถามต่อว่า : ถ้าพี่ๆจะมอบสิ่งของสิ่งหนึ่งให้กับคนที่เรารัก พี่จะมอบอะไร? และช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตของเราคือช่วงเวลาใด?
พี่ๆคิดเชื่อมโยงกับตนเองเขียนและนำเสนอผลงาน
พี่ๆคิดเชื่อมโยงกับตนเองเขียนและนำเสนอผลงาน
ภาพกิจกรรม "จิตศึกษา"
วิชาภาษาไทย
-ครูเชื่อมโยงหลักภาษาเข้าสู่วรรณกรรม คำสมาส คำสนธิ
-ครูให้นักเรียนศึกษาหาข้อมูลด้วยตนเอง แล้วสรุปความเข้าใจ
-วิเคราะห์คำศัพท์ใหม่ แยกคำสนธิ คำสมาส ครูให้นักเรียนหาคำสนธิ คำสมาสจากวรรณกรรมที่อ่านแล้วให้นักเรียนแต่งเรื่องใหม่จากคำที่เลือกแต่ให้ใช้ตัวละครเดิมจากวรรณกรรม
วิชาคณิตศาสตร์
ครูให้นักเรียนสร้างโมเดลจำลอง ตามแผนงานธุรกิจของแต่ละกลุ่มที่ได้ร่วมกันวางแผนไว้และช่วยกันออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน Number การสร้างแผนภูมิและกราฟ
วิชาบูรณาการ
ครูถามนักเรียนว่าหน้ากากที่หาทั้งหมด 11 ประเทศเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ทั้งด้านวัฒนธรรมประเพณี
ประวัติศาสตร์และความเชื่อ
ครูให้นักเรียนเขียนชักเย่อความคิด ในด้านความกลัว และการยอมรับ
ครูตั้งคำถาม : ถ้าพี่ๆกลัว ตอนนี้จะกลัวอะไรมากที่สุด แล้วจะมีวิธีไหนที่ลดความกลัวให้น้อยลง จะเอาชนะ
ความกลัวนั้นได้อย่างไร?
Body scan (ครูณี) กำกับจุดต่างๆ จินตนาการถึงธรรมชาติ
วิชาบูรณาการต่อ
ครูให้นักเรียนเขียนบทความ หน้ากากมีความสัมพันธ์กับตัวเราและสังคมอย่างไร?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น